วิกฤต Climate Change มลพิษที่มาจากการใช้ชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะคนรวย

วิกฤต Climate Change

วิกฤต Climate Change จากการแบนเครื่องบินส่วนตัว เรือยอชต์ ไปจนการลดปริมาณฆ่าสัตว์เพื่อบริโภค เราคงต้องหาทางออกทางใหม่

วิกฤต Climate Change นักวิจัยจาก Tuesday เรียกร้องให้ประเทศ เศรษฐกิจหลักของโลก ใช้นโยบายที่ “รุนแรง” เพื่อจำกัดผลกระทบ ของผู้ที่มี ไลฟ์สไตล์ ที่หรูหราต่อภาวะโลกร้อน แม้ว่าจะไม่เป็นวิธี ที่คนนิยมก็ตาม

20 อันดับประเทศ ที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ในปัจจุบัน ออกนอกเส้นข้อตกลง ในเรื่องที่จะมีการร่วมมือกัน รักษาการเพิ่มขึ้นของ อุณหภูมิโลก ไว้ที่ 1.5 เซลเซียส ตั้งแต่ยุคสมัยก่อนอุตสาหกรรม

การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเชิงบุคคล จะไม่มีวันเพียงพอ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ในระดับนโยบายของรัฐ เพื่อผลักดันประชากร ของตนเองไปสู่วิถีชีวิต ที่เข้าใกล้สีเขียว(ธรรมชาติ) มากขึ้น

วิกฤต Climate Change

 

ไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ทำให้ Global Warming แย่ลงอย่างไร?

มันมีช่องว่างที่ใหญ่มหาศาล ระหว่างปริมาณคาร์บอนต่อหัว กับ ระดับเพดาน 1.5 เซลเซียส จากการวิจัยของ Hot or Cool Institute จากการวิเคราะห์ประเทศ ครึ่งหนึ่งในกลุ่ม G20 โดยประกอบด้วย Canada, Finland, Britain, Japan, China, South Africa, Turky, Brizil, India และ Indonesia โดยประเทศเหล่านี้มี ปริมาณคาร์บอนต่อหัว ที่เกินไปมากจนประเมินแล้ว ว่าคงไม่สามารถไปถึง เป้าหมาย 1.5 เซียลเซียสในปี 2050 ได้

จากผู้เขียนรายงาน Lewis Akenji กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง ของไลฟ์สไตล์ว่า “มันคือ A hot potato issue (ปัญหาที่ทำให้ ทุกคนรู้สึกไม่สบายใจ) ต่อผู้ออกนโยบาย(รัฐบาล) ที่กลัวจะไปแตะต้อง วิถีชีวิตและการบริโภคของเหล่า ผู้ที่โหวตสนับสนุนพวกเขา”

แต่การเปลี่ยนแปลง ที่ยกเว้นเหล่าผู้มีอันจะกิน (ผู้ร่ำรวย) คงไม่สามารถที่จะ เปลี่ยนแปลงเส้นทางของวิกฤต Climate Change ฉะนั้นคำถามคือ “เราจะกระจายและ ลดปริมาณคาร์บอน(ที่เรายังสามารถปล่อยได้) ด้วยวิธีที่จะทำให้มนุษย์ทุกคน เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเท่า ๆ กันเพื่อไม่มีการ ได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งกันและกัน?”

วิกฤต Climate Change

แล้วไลฟ์สไตล์แบบไหนที่กำลังส่งผลกระทบต่อโลกมากที่สุด?

อาหาร ที่อยู่อาศัย และการขนส่งส่วนบุคคล มีผลกระทบมากที่สุด ต่อปัญหา ภาวะโลกร้อน (Climate Change) โดยมีสัดส่วนมากถึง 4 ต่อ 5 ของวิถีชีวิตที่มนุษย์ ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเยอะมากหากเปรียบเทียบ กับอย่างอื่นเช่น สินค้า บริการ หรือของใช้ยามว่าง

แต่อย่างที่กล่าวไปว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในส่วนบุคคลนั้นไม่มากพอ ที่จะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ให้อยู่ในระดับต่ำ จำเป็นต้องร่วมมือกัน ในระดับสังคม นโยบาย และโลก ในขณะเดียวกันที่ เหล่านักวิจัยโต้เถียงกันว่า จะต้องเกิดขึ้นควบคู่ไป กับการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในวงกว้าง

Sandrine Dixson-Declève หนึ่งในประธานร่วมของ Club of Rome ซึ่งเป็นองค์กร ไม่แสวงหากำไร ในสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น ให้ผลได้ระดับหนึ่งเท่านั้น หากไม่มีร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย ทั้งการปรับเปลี่ยน โมเดลการเมือง การเงิน และเศรษฐกิจเพื่อการเติบโต ไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง แบบองค์รวมมากขึ้น(นโยบายการเมือง การเงิน และเศรษฐกิจที่ใส่ใจ ทรัพยากรธรรมชาติ มากขึ้น)”

วิกฤต Climate Change

วิกฤต Climate Change การเปลี่ยนแปลงแบบไหนที่จำเป็น?

รัฐบาลต้องเริ่ม ที่จะมีมาตรการใน การตรวจสอบและ วัดค่าเพื่อหาไลฟ์สไตล์ ที่กำลังเป็นอันตราย(ต่อสิ่งแวดล้อม) โดยเหล่านักวิชาการ ก็ออกข้อเสนอวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการจำกัด หรือสั่งห้ามการพฤติกรรม ที่มีการปล่อย คาร์บอน ออกมา ในระดับสูง เช่น เครื่องบินส่วนตัว ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เรือยอชต์หรู และการบริโภคเนื้อ ที่มากเกินไป(ร้านอาหารต่าง ๆ เช่น บุฟเฟ่ต์)

โปรแกรมสำหรับเหล่า ลูกค้าชั้นดีที่สนับสนุน ให้พวกเขาขึ้นบิน(ใช้เครื่องบิน) บ่อยครั้ง และแถมห้องโรงแรมให้ไปนอนเล่น ก็ควรจะหยุดเช่นกัน

ในนโยบายของรัฐ ในเรื่องอื่น ๆ ก็ควรมีการเพิ่มเติม ในเรื่องข้อจำกัด ของขนาดบ้าน หรือสนับสนุนที่อยู่อาศัย ที่อยู่ร่วมกัน (เหมือนบ้านหนึ่งหลัง มีมากกว่าหนึ่งครอบครัวขึ้นไป) การจำกัดการใช้ พื้นที่สาธารณะสำหรับ ถนนและที่จอดรถ และกำหนดมาตรฐาน ประสิทธิภาพขั้นต่ำ ที่สูงขึ้นสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า

ภาวะเรือนกระจก

ไลฟ์สไตล์ที่คล้ายคลึงกัน ให้ผลกระทบเหมือน ๆ กันไหมในแต่ละประเทศ?

มีความไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก โดยมีนัยสำคัญกับ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ ในกลุ่มเศรษฐกิจหลักของโลก อย่างเช่น ผู้อยู่อาศัยในแคนาดา ที่มีปริมาณการปล่อย คาร์บอนต่อหัวเยอะที่สุด ในกลุ่ม 10 ประเทศ ที่ได้วิเคราะห์มา มีไลฟ์สไตล์ที่ปล่อยคาร์บอน มากกว่าผู้ที่อยู่อาศัย ในอินโดนีเซียถึง 6 เท่า

“ส่วนแบ่งของการปล่อยมลพิษ ใน 1% ของผู้ที่มีรายได้สูงสุด นั้นมีปริมาณมากกว่า การปล่อยมลพิษของ คนส่วนล่างที่ 50% รวมกันซะอีก และมันอาจจะมากกว่าถึงสองเท่า จากการคาดคะเน”

เพื่อให้มีการแก้ไข และควบคุมปัญหา ความเหลื่อมล้ำนี้ มีการแนะนำว่า ให้รัฐบาลนำไอเดีย “Fair comsumption space” (การแบ่งพื้นที่บริโภคให้เท่าเทียมกัน) เพื่อให้สามารถกระจาย การปล่อยคาร์บอน ให้เท่าเทียมกัน

จากการวิเคราะห์แล้ว สรุปได้ว่า ปริมาณคาร์บอน ที่มนุษย์ปล่อยกันบนโลก จำเป็นต้องลดลงไป 91% – 95% ภายในปี 2050 ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง โดยประเทศรายได้ปานกลาง-ต่ำนั้น จะเป็นต้องลดลงไป 76%

นับวันปัญหาเรื่อง สภาพอากาศนั้น ส่งผลต่อธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ น้ำแข็งขั้วโลก ที่กำลังค่อย ๆ หายไป ระดับน้ำ ที่กำลังสูงขึ้นทั่วโลก มลพิษที่มนุษย์ ปล่อยออกมา ภาวะเรือนกระจก เราคงต้องหวังว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม จะเป็นปัญหาของ คนทุกคนสักที ไม่ใช่เพียงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และควรต้องเป็น ปัญหาอันดับต้น ๆ ที่ต้องแก้ไข


เรียบเรียง: แซมมีแบร์